148 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1-5
อ่านๆไปชักจะเมาภาษา
เอาลิงค์ไปลองอ่านดูเองละกันนะครับ น่าจะมีประโยชน์ในเรื่องนี้
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
http://www.ipat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=167:-1-6-&catid=36:t13&Itemid=12
ไม่รู้จะเข้าข้อ 6 หรือเปล่านะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
http://www.ipat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=167:-1-6-&catid=36:t13&Itemid=12
ไม่รู้จะเข้าข้อ 6 หรือเปล่านะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 3












ขอบคุณทุกท่านครับ
อ่านต่อเพิ่มเติม เรื่องเคล็ดลับ 10 ข้อ ก่อนนำเสนองานได้ที่
http://pantip.com/topic/32410574
นะครับ












ขอบคุณทุกท่านครับ

อ่านต่อเพิ่มเติม เรื่องเคล็ดลับ 10 ข้อ ก่อนนำเสนองานได้ที่
http://pantip.com/topic/32410574
นะครับ

ความคิดเห็นที่ 20
ทำ slide ให้น่าสนใจก็เป็นเรื่องดี แต่อย่าลืมว่าเนื้อหาและเป้าหมายนำเสนอสำคัญที่สุดนะครับ
ผมเคยเห็นหลายคนพยายามทำ slide ให้สวยอลังการมาก แต่เอาเข้าจริงมีแต่น้ำ บรรยายให้เข้าใจประเด็นไม่ได้เลย
หรือบางคนทำ slide น่าสนใจเกินไปจนทำให้ผู้ฟังสนใจแต่รูปในนั้น ไม่ได้สนใจฟังผู้บรรยายเลย
ต้อง balance ให้ดีครับ
ผมเคยเห็นหลายคนพยายามทำ slide ให้สวยอลังการมาก แต่เอาเข้าจริงมีแต่น้ำ บรรยายให้เข้าใจประเด็นไม่ได้เลย
หรือบางคนทำ slide น่าสนใจเกินไปจนทำให้ผู้ฟังสนใจแต่รูปในนั้น ไม่ได้สนใจฟังผู้บรรยายเลย
ต้อง balance ให้ดีครับ
ความคิดเห็นที่ 25
เป็นแนงทางที่ดีเกือบทุกข้อ
แต่ก็เป็นพาวเวอร์พ้อยสำหรับคนทำงานที่ต้องนำเสนองานของตนเองด้วยเครื่องของตนเองเป็นหลัก
เพราะไม่อย่างนั้น ไอ้ข้อ Font เนี้ย พา "นักศึกษา" ที่ต้องส่งงานนำเสนอให้อาจารย์ตรวจ ตายกันมานักต่อนักแล้ว
/me จากอาจารย์ที่ไม่มีฟ้อนท์พิศดาร และนักศึกษาไม่ชอบแถมฟ้อนท์พิศดารมาให้ติดตั้ง
แต่ก็เป็นพาวเวอร์พ้อยสำหรับคนทำงานที่ต้องนำเสนองานของตนเองด้วยเครื่องของตนเองเป็นหลัก
เพราะไม่อย่างนั้น ไอ้ข้อ Font เนี้ย พา "นักศึกษา" ที่ต้องส่งงานนำเสนอให้อาจารย์ตรวจ ตายกันมานักต่อนักแล้ว
/me จากอาจารย์ที่ไม่มีฟ้อนท์พิศดาร และนักศึกษาไม่ชอบแถมฟ้อนท์พิศดารมาให้ติดตั้ง

ความคิดเห็นที่ 64
เทคนิคดีหลายอันเลยครับ
แต่อีกอย่างที่ต้องคำนึงเวลาทำสไลด์ก็คือ รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เลือกทำสไลด์ให้เหมาะกับผู้รับชมด้วยครับ
งานนำเสนอแนวนี้ไม่ได้เหมาะกับการนำเสนอในทุกกลุ่มครับ
บางกลุ่ม (โดยเฉพาะส่วนงานราชการ และผู้สูงอายุที่ไม่ติสท์หรือแฟชั่นจ๋า) ถ้าทำสไลด์ติสท์เกินไป
เช่นเล่นคู่สี ตัวอักษรแนวตั้ง และโดยเฉพาะการใช้ภาพแทนความหมายแบบข้อที่ 5 ถ้าตั้งใจจะไม่อธิบายความหมายของภาพระหว่างการนำเสนอ ก็ไม่ควรใส่สไลด์นี้เข้ามาเลยครับ
เพราะมีโอกาสเยอะอยู่เหมือนกันที่จะโดนตำหนิกลับมาว่า "ทำสไลด์ดูไม่รู้เรื่อง"
ในทางกลับกัน สไลด์แนวนี้เมื่อเปลี่ยนผู้รับชมเป็นกลุ่มวัยรุ่นหรือถึงวัยกลางคน หรือคนที่ชื่นชอบแฟชั่น กลับทำให้ผู้รับชมร้องว้าวได้
เอาผู้รับชมเป็นที่ตั้งครับ แล้วปรับงานงานนำเสนอของเราให้เข้ากับผู้รับชม แล้วการนำเสนอจะราบรื่น
และอีกอย่างหนึ่งคือ การเลือกใช้สี ให้คำนึงถึงการพิมพ์สไลด์ออกมาด้วยครับ
เพราะหลายๆการนำเสนอ สไลด์ถูกพิมพ์ handout ออกมาแจกผู้เข้าประชุม
สีของพื้นกับสีของตัวอักษรที่ดูบนจอว่าสวย ควรทดลองพิมพ์ขาวดำออกมาด้วยครับว่ามันอ่านรู้เรื่องไหม
บางคู่สีดูสวยบนจอ แต่พอพิมพ์ออกมาแล้วมันกลืนกันไปทันที (Greyscale ระดับเดียวกัน)
แต่อีกอย่างที่ต้องคำนึงเวลาทำสไลด์ก็คือ รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เลือกทำสไลด์ให้เหมาะกับผู้รับชมด้วยครับ
งานนำเสนอแนวนี้ไม่ได้เหมาะกับการนำเสนอในทุกกลุ่มครับ
บางกลุ่ม (โดยเฉพาะส่วนงานราชการ และผู้สูงอายุที่ไม่ติสท์หรือแฟชั่นจ๋า) ถ้าทำสไลด์ติสท์เกินไป
เช่นเล่นคู่สี ตัวอักษรแนวตั้ง และโดยเฉพาะการใช้ภาพแทนความหมายแบบข้อที่ 5 ถ้าตั้งใจจะไม่อธิบายความหมายของภาพระหว่างการนำเสนอ ก็ไม่ควรใส่สไลด์นี้เข้ามาเลยครับ
เพราะมีโอกาสเยอะอยู่เหมือนกันที่จะโดนตำหนิกลับมาว่า "ทำสไลด์ดูไม่รู้เรื่อง"
ในทางกลับกัน สไลด์แนวนี้เมื่อเปลี่ยนผู้รับชมเป็นกลุ่มวัยรุ่นหรือถึงวัยกลางคน หรือคนที่ชื่นชอบแฟชั่น กลับทำให้ผู้รับชมร้องว้าวได้
เอาผู้รับชมเป็นที่ตั้งครับ แล้วปรับงานงานนำเสนอของเราให้เข้ากับผู้รับชม แล้วการนำเสนอจะราบรื่น
และอีกอย่างหนึ่งคือ การเลือกใช้สี ให้คำนึงถึงการพิมพ์สไลด์ออกมาด้วยครับ
เพราะหลายๆการนำเสนอ สไลด์ถูกพิมพ์ handout ออกมาแจกผู้เข้าประชุม
สีของพื้นกับสีของตัวอักษรที่ดูบนจอว่าสวย ควรทดลองพิมพ์ขาวดำออกมาด้วยครับว่ามันอ่านรู้เรื่องไหม
บางคู่สีดูสวยบนจอ แต่พอพิมพ์ออกมาแล้วมันกลืนกันไปทันที (Greyscale ระดับเดียวกัน)
ความคิดเห็นที่ 95
ขอแชร์ประสบการณ์ จากผู้เคยทำสไลด์ไป present ทั้งการสอบวิทยานิพนธ์ และการไปสัมมนาทางวิชาการ รวมทั้งการดูจากคนใกล้ชิดนะครับ พบว่าแต่ละข้อ ที่ จขกท ยกมานั้น มีจุดต้องเสริมหรือแย้งบ้างนิดหน่อย ในมุมของผม (ที่จบวิศวฯมา) นะครับ
1. ในงานที่เป็นทางการ การใช้ template ทั่วไป ไม่ต้องตีลังกา แต่สามารถเอาหัวข้อชิดซ้าย ชิดขวา หรือบีบไว้ด้านใดด้านหนึ่งก็ได้ และการมี bullet เยอะ ๆ ก็สามารถจัดหน้าให้สวยได้ ขนาดภาพตัวอย่างของ จขกท สีเลือดหมูที่มี bullet 4 อัน แล้วสรุปอันใหญ่ มันก็ยังสามารถอธิบายได้ และสวย
2. การเล่นกับสีเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่จะลำบากในการทำ handout (การพิมพ์สไลด์ออกมาเพื่อแจกให้ผู้อ่านอ่านประกอบ) เพราะถ้าพิมพ์ขาวดำก็ออกมาไม่สวย ถ้าปรับพื้นหลังออกมาเป็นแบบพื้นขาว font ดำ สไลด์ก็จะลอย ๆ ไม่มีความสวยงาม ถ้าต้องทำ handout ขาวดำ (แน่นอน คุณคงไม่ลงทุนพิมพ์สีแจกทุกคนที่มาฟัง ถ้ามันมากกว่า 4 คน) การทำสไลด์สีออกมาแนวนี้ ถือว่าเป็นเรื่องหลีกเลี่ยง
3. การใช้ font นอกเหนือจาก font มาตรฐานในคอมฯ จะลำบาก โดยเฉพาะการต้อง present ในงานสัมมนาที่ทางผู้จัดมีคอมพิวเตอร์เครื่องส่วนกลางที่ต่อกับ Projector สิ่งที่ผู้ทำสไลด์ต้องรู้เพิ่มอีกอย่างคือการ ฝังแบบอักษร (Embed Font) ซึ่งตัวเลือกการฝังแบบอักษรจะอยู่ตรง Option ที่หน้า Save As.. อีกที แต่อีกวิธีที่น่าสนใจ คือการใช้ font ที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ การแปลหัวข้อหรือข้อความที่คุณจะใส่ในสไลด์ให้เป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว จะทำให้คุณใช้ Font ที่ไม่ซ้ำซาก แต่คุณไม่เคยใช้เป็นสิบตัว รอให้คุณลองเปลี่ยน โดยไม่ต้องเสียเวลาหาโหลดหรือติดตั้ง font ใหม่ หรือถ้าจะเปลี่ยน font ก็แนะนำ TH Sarabun เพราะเป็น font ใหม่มาแรง ใช้ในราชการได้ และสวยด้วย
อีกกรณีศึกษา บางครั้ง Font พื้นฐาน ก็เป็นสิ่งที่ผู้อ่านอยากได้ ใช้ Font ใหม่ แต่ความกว้างของตัวอักษรไม่มากพอ ตัวอักษรแบน ๆ ตีบติดกัน ก็ทำให้ผู้อ่าน อ่านลำบาก การใช้ Font พื้นฐานง่าย ๆ อย่าง font ชื่อ Arial ก็ทำให้อ่านง่ายขึ้น
4. ข้อนี้ถูกแล้ว ไม่มีอะไรค้าน
5-6. ภาพที่ดีต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะนำเสนอครับ ซึ่งนิยามนี้ไม่ใช่แค่ภาพถ่าย แต่ครอบคลุมถึงสไลด์แต่ละหน้าด้วย
ผมแนะนำวิธีที่ผมใช้ คือการสร้างโครงเรื่องขึ้นมาก่อน ด้วยสไลด์ขาว Font ดำ ธรรมดา สร้างลำดับการเล่าขึ้นมาก่อน มันจะนำทางเราเองว่าสไลด์ไหน ควรเน้นอะไร ควรเอารูปไหนมาใส่ เน้นข้อความไหน (อันนี้คือตรงกับข้อ 6) ควรจัดหน้ายังไง ซึ่งจุดนี้น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกก่อนการทำตาม 9 อันดับในกระทู้นี้ด้วยซ้ำ
7.นานาจิตตัง Infographic เป็นภาพสวยหรู ที่บางทีไม่สามารถทำได้จริง บางทีทำแล้วก็รกเกินไป แล้วมันจะไปขัดกับข้ออื่น ๆ ที่ จขกท ว่ามาได้เหมือนกัน และวิธีการแปลงข้อมูลต้องมีความสามารถในการใช้เครื่องมือ รวมทั้งต้องมีข้อมูลที่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะอย่างที่ผมทำ presentation อันล่าสุด ก็ไม่มีอันไหนที่ใช้วิธี infographic ได้
8. แรงบันดาลใจ บางทีก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราต้องใช้งานด้านไหน ผมเรียนวิศวฯ แต่ไปศึกษา TED ของนักธุรกิจหรือนักสร้างแรงบันดาลใจก็ใช่ที่ และศาสตร์ต่างกัน เรื่องที่เล่า วิธีการอธิบายก็อาจจะต่างกัน
9. ลองทำดู เห็นด้วยครับ การหัดทำจะทำให้คุณรู้ว่าคุณยังต้องพึ่งพิงสิ่งต่าง ๆ ในการสร้างสไลด์หนึ่งหน้า มากกว่าหลัก 9 ข้อนี้ เช่นการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ เพราะภาพที่ จขกท นำมาใช้นั้น ก็ผ่านโปรแกรมอื่นด้วยเช่นกัน, การใช้ Powerpoint ให้คล่องทุกฟังก์ชั่น, ระบบระเบียบการคิดการเล่าเรื่อง ฯลฯ พอทำได้หมดนี่แล้วจะพบว่าหลัก 9 ข้อนี้ อาจจะไม่ถูกทุกข้อหรือไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับคุณอีกต่อไป เพราะ 9 ข้อนี้มันจะเปลี่ยนสถานะจากหลักการ หรือวิธีการ กลายเป็นความสามารถติดตัวคุณไปเรียบร้อยครับ
แต่ยังไงก็ต้องชื่นชม จขกท และบทความต้นทางนะครับ ว่า 9 ข้อนี้ถือว่าเป็น how to อย่างง่ายและดีมาก สำหรับการพัฒนาองค์ความคิดตัวเอง
ขอบคุณครับ
1. ในงานที่เป็นทางการ การใช้ template ทั่วไป ไม่ต้องตีลังกา แต่สามารถเอาหัวข้อชิดซ้าย ชิดขวา หรือบีบไว้ด้านใดด้านหนึ่งก็ได้ และการมี bullet เยอะ ๆ ก็สามารถจัดหน้าให้สวยได้ ขนาดภาพตัวอย่างของ จขกท สีเลือดหมูที่มี bullet 4 อัน แล้วสรุปอันใหญ่ มันก็ยังสามารถอธิบายได้ และสวย
2. การเล่นกับสีเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่จะลำบากในการทำ handout (การพิมพ์สไลด์ออกมาเพื่อแจกให้ผู้อ่านอ่านประกอบ) เพราะถ้าพิมพ์ขาวดำก็ออกมาไม่สวย ถ้าปรับพื้นหลังออกมาเป็นแบบพื้นขาว font ดำ สไลด์ก็จะลอย ๆ ไม่มีความสวยงาม ถ้าต้องทำ handout ขาวดำ (แน่นอน คุณคงไม่ลงทุนพิมพ์สีแจกทุกคนที่มาฟัง ถ้ามันมากกว่า 4 คน) การทำสไลด์สีออกมาแนวนี้ ถือว่าเป็นเรื่องหลีกเลี่ยง
3. การใช้ font นอกเหนือจาก font มาตรฐานในคอมฯ จะลำบาก โดยเฉพาะการต้อง present ในงานสัมมนาที่ทางผู้จัดมีคอมพิวเตอร์เครื่องส่วนกลางที่ต่อกับ Projector สิ่งที่ผู้ทำสไลด์ต้องรู้เพิ่มอีกอย่างคือการ ฝังแบบอักษร (Embed Font) ซึ่งตัวเลือกการฝังแบบอักษรจะอยู่ตรง Option ที่หน้า Save As.. อีกที แต่อีกวิธีที่น่าสนใจ คือการใช้ font ที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ การแปลหัวข้อหรือข้อความที่คุณจะใส่ในสไลด์ให้เป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว จะทำให้คุณใช้ Font ที่ไม่ซ้ำซาก แต่คุณไม่เคยใช้เป็นสิบตัว รอให้คุณลองเปลี่ยน โดยไม่ต้องเสียเวลาหาโหลดหรือติดตั้ง font ใหม่ หรือถ้าจะเปลี่ยน font ก็แนะนำ TH Sarabun เพราะเป็น font ใหม่มาแรง ใช้ในราชการได้ และสวยด้วย
อีกกรณีศึกษา บางครั้ง Font พื้นฐาน ก็เป็นสิ่งที่ผู้อ่านอยากได้ ใช้ Font ใหม่ แต่ความกว้างของตัวอักษรไม่มากพอ ตัวอักษรแบน ๆ ตีบติดกัน ก็ทำให้ผู้อ่าน อ่านลำบาก การใช้ Font พื้นฐานง่าย ๆ อย่าง font ชื่อ Arial ก็ทำให้อ่านง่ายขึ้น
4. ข้อนี้ถูกแล้ว ไม่มีอะไรค้าน
5-6. ภาพที่ดีต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะนำเสนอครับ ซึ่งนิยามนี้ไม่ใช่แค่ภาพถ่าย แต่ครอบคลุมถึงสไลด์แต่ละหน้าด้วย
ผมแนะนำวิธีที่ผมใช้ คือการสร้างโครงเรื่องขึ้นมาก่อน ด้วยสไลด์ขาว Font ดำ ธรรมดา สร้างลำดับการเล่าขึ้นมาก่อน มันจะนำทางเราเองว่าสไลด์ไหน ควรเน้นอะไร ควรเอารูปไหนมาใส่ เน้นข้อความไหน (อันนี้คือตรงกับข้อ 6) ควรจัดหน้ายังไง ซึ่งจุดนี้น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกก่อนการทำตาม 9 อันดับในกระทู้นี้ด้วยซ้ำ
7.นานาจิตตัง Infographic เป็นภาพสวยหรู ที่บางทีไม่สามารถทำได้จริง บางทีทำแล้วก็รกเกินไป แล้วมันจะไปขัดกับข้ออื่น ๆ ที่ จขกท ว่ามาได้เหมือนกัน และวิธีการแปลงข้อมูลต้องมีความสามารถในการใช้เครื่องมือ รวมทั้งต้องมีข้อมูลที่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะอย่างที่ผมทำ presentation อันล่าสุด ก็ไม่มีอันไหนที่ใช้วิธี infographic ได้
8. แรงบันดาลใจ บางทีก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราต้องใช้งานด้านไหน ผมเรียนวิศวฯ แต่ไปศึกษา TED ของนักธุรกิจหรือนักสร้างแรงบันดาลใจก็ใช่ที่ และศาสตร์ต่างกัน เรื่องที่เล่า วิธีการอธิบายก็อาจจะต่างกัน
9. ลองทำดู เห็นด้วยครับ การหัดทำจะทำให้คุณรู้ว่าคุณยังต้องพึ่งพิงสิ่งต่าง ๆ ในการสร้างสไลด์หนึ่งหน้า มากกว่าหลัก 9 ข้อนี้ เช่นการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ เพราะภาพที่ จขกท นำมาใช้นั้น ก็ผ่านโปรแกรมอื่นด้วยเช่นกัน, การใช้ Powerpoint ให้คล่องทุกฟังก์ชั่น, ระบบระเบียบการคิดการเล่าเรื่อง ฯลฯ พอทำได้หมดนี่แล้วจะพบว่าหลัก 9 ข้อนี้ อาจจะไม่ถูกทุกข้อหรือไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับคุณอีกต่อไป เพราะ 9 ข้อนี้มันจะเปลี่ยนสถานะจากหลักการ หรือวิธีการ กลายเป็นความสามารถติดตัวคุณไปเรียบร้อยครับ
แต่ยังไงก็ต้องชื่นชม จขกท และบทความต้นทางนะครับ ว่า 9 ข้อนี้ถือว่าเป็น how to อย่างง่ายและดีมาก สำหรับการพัฒนาองค์ความคิดตัวเอง
ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 99-1
ผมคิดว่าในเมืองไทยน่าจะมีที่สอนนะครับ แต่ไม่ทราบเลยจริงๆ ว่ามีที่ไหนบ้าง
ส่วนตัวผม เรียนรู้ด้วยตนเอง จากหลายๆ ที่ ทั้งเว็บ ทั้งการไปเดินดูงานในต่างประเทศ หรือจากหนังสือต่างๆ
รวมถึงประสบการณ์ตรงในการทำพรีเซนเตชั่นนำเสนองาน
สองสามปีก่อนมีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนได้น่าสนใจมาก ชื่อว่า Presentation Zen
ลองหาฉบับภาษาไทยมาลองอ่านดูนะครับ (น่าจะหายากแล้ว อาจต้องลองถามสำนักพิมพิ์ หรือไม่ก็หาฉบับภาษาอังกฤษมาอ่าน)
สำหรับผม การทำพรีเซนต์นั้น ขั้นตอนที่ยากที่สุดคงไม่ใช่การทำหน้าตา แต่ยากที่สุดตอน .ตีความ. ข้อมูล และอ่านใจ คนฟัง ครับ
สู้ๆ และขอบคุณครับ
ส่วนตัวผม เรียนรู้ด้วยตนเอง จากหลายๆ ที่ ทั้งเว็บ ทั้งการไปเดินดูงานในต่างประเทศ หรือจากหนังสือต่างๆ
รวมถึงประสบการณ์ตรงในการทำพรีเซนเตชั่นนำเสนองาน
สองสามปีก่อนมีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนได้น่าสนใจมาก ชื่อว่า Presentation Zen
ลองหาฉบับภาษาไทยมาลองอ่านดูนะครับ (น่าจะหายากแล้ว อาจต้องลองถามสำนักพิมพิ์ หรือไม่ก็หาฉบับภาษาอังกฤษมาอ่าน)
สำหรับผม การทำพรีเซนต์นั้น ขั้นตอนที่ยากที่สุดคงไม่ใช่การทำหน้าตา แต่ยากที่สุดตอน .ตีความ. ข้อมูล และอ่านใจ คนฟัง ครับ

สู้ๆ และขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
9 เคล็ดทำพาวเวอร์พ้อยท์ให้โดนใจ
ดัดแปลงให้เป็น 9 ข้อคิดชี้แนะง่ายๆ ก่อนลงมือทำ Powerpoint ครับ
แนะนำติชมกันได้ครับ
จบข้อ 1 ครับ อีกเดี๋ยวมาต่อข้อ 2
28 กรกฎาคม 2557 เวลา 14:40 น.