dd


นายธวัชชัย ศักดิ์ประศาสน์
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย


ความเป็นมา : ในปี 2519 สำนักราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือถึงกรมป่าไม้ ความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชประสงค์สงวนป่าบริเวณตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในบริเวณนี้ประกอบด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาชนิด ราษฎรในแถบนี้และใกล้เคียงได้รับความสมบูรณ์จากน้ำที่เกิดจากพื้นที่ต้นน้ำลำธารในพื้นที่ป่าแห่งนี้ กรมป่าไม้ควรสงวนไว้เป็นวนอุทยานซึ่ง ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาแล้ว มีบัญชาให้ดำเนินการตามพระราชประสงค์" 

กรมป่าไม้จึงได้ประชุมผู้แทนกองต่างๆ พิจารณาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2519 และมีหนังสือให้กองจัดการป่าไม้ กองอุทยานแห่งชาติ และกองอนุรักษ์สัตว์ป่า แต่งตั้งผู้แทนของกองออกไปร่วมกับป่าไม้เขตตาก และจังหวัดสุโขทัย ดำเนินการตรวจสอบป่าโครงการแม่สิน-แม่สาน (สท.1) ซึ่งเป็นพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งคณะทำงานได้ร่วมกันตรวจสอบ และเห็นสมควรให้จัดป่าแห่งนี้บางส่วนเป็นอุทยานแห่งชาติ เฉพาะในพื้นที่ป่าส่วนที่เป็นต้นน้ำลำธาร กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจเบื้องต้นสภาพโครงการป่าโครงการแม่สิน-แม่สาน ซึ่งได้รับรายงานว่า พื้นที่ ดังกล่าวมีสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธาร พันธุ์ไม้มีค่าและสัตว์ป่านานาชนิดน้ำตกหลายแห่ง ตลอดจนทัศนียภาพที่สวยงามมากมาย มีสภาพเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ และให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย” โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่สินป่าแม่สาน ป่าแม่สูงฝั่งซ้าย และ ป่าแม่ท่าแพ ในท้องที่ตำบลแม่ล้น ตำบลแม่สำ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย และตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 70 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 26 ของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 213

ขนาดพื้นที่
133250.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ศช.1 (ด่านตรวจ)
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ศช.2 (บึงอ้าว)
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ศช.3 (แม่วังช้าง)
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ศช.4 (แม่มอก)
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ศช.5 (ผาเวียง)
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ศช.6 (ห้วยหยวก)


สภาพป่าโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัยเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน บางตอนเป็นภูเขาหินที่มีหน้าผาสูงทางทิศตะวันตกของพื้นที่ ซึ้งเป็นภูเขาสูง เช่น ดอยแม่วังช้าง ดอยแม่มอก มีแนวติดต่อกันจากเหนือจรดใต้ ลักษณะเป็นรูปปีกกา ล้อมรอบพื้นที่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณที่พื้นที่ประมาณ 93.40 ของพื้นที่อุทยานฯ

ภูมิอากาศของจังหวัดสุโขทัย จัดอยู่ในประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู (Tropical savannah climate) ซึ่งแสดงว่าเป็นบริเวณที่มีช่วงฝนสลับกับช่วงที่แห้งแล้งแตกต่างกันอย่างชัดเจนในรอบปี ซึ่งสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้ 
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ในเดือนกุมภาพันธ์จะมีลมสองกระแสพัดมาปะทะกัน คือ ลมเหนือซึ่งพัดมาจากประเทศจีน และลมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งพัดมาจากทะเลจีนใต้เป็นผลให้เกิดพายุโซนร้อนเป็นครั้งคราว ในเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนอุณหภูมิจะสูง อากาศร้อน อบอ้าว ระยะตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเริ่มฝนตกประปราย และอุณหภูมิจะเริ่มต่ำลง 
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ในบางปีจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนเมษายนและฝนจะแล้งตั้งแต่ราวกลางฤดูฝน แต่โดยปกติแล้วจะเกิดพายุโซนร้อนพัดผ่านทำให้ฝนตกชุกในเดือนสิงหาคมและกันยายน 
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ในฤดูหนาวบางปีอากาศหนาวจัดเนื่องจากได้รับลมหนาวไซบีเรียและจากตอนเหนือของประเทศจีน อากาศจะหนาวเย็นมากระหว่างปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นเดือนที่เริ่มฤดูร้อน

สามารถจำแนกสังคมพืชในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัยออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (1) ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical Evergreen Forest) (2) ป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สัก (Mixed Deciduous Forest without Teak) (3) ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สัก (Mixed Deciduous Forest with Teak)  (4) ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest)

สัตว์ป่า 
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติเป็นเทือกเขาสูง มียอดเขาสลับซับซ้อนเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมแก่สัตว์หลายชนิด และพื้นที่ลุ่มน้ำริมลำธารสายต่างๆ เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายชนิด 

(1) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammals) (2) สัตว์ปีก (Avifauna) (3) สัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles) (4) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians) (5) ปลา (Fishes) เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัยมีลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปีอยู่หลายสาย ทำให้มีปลาน้ำจืดอยู่หลายชนิดแต่ยังมิได้ดำเนินการสำรวจจำแนกชนิด 

สถานที่ติดต่อ : ตู้ ปณ.10 ต.บ้านแก่ง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 64130 

โทรศัพท์ : 0 5591 0002-3 ,09 5306 4837