dd
 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๔ (ตาก) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช



นายนพรัตน์ แก้วโมรา
หัวหน้าวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน

 


565565

.........................วนอุทยานไม้กลายเป็นหิน   ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลตากออก  อำเภอบ้านตาก  จังหวัดตาก  เป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ไม้กลายเป็นหิน (Petrified Wood) อายุประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ปี
คาดว่ามีความยาวที่สุดในโลก โดยมีความยาวประมาณ ๗๒.๒๒ เมตรซึ่งซากฟอสซิลดังกล่าวไม่สามารถ
ประเมินค่าได้ อีกทั้งยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความโดดเด่น
ซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครองและพัฒนาโดยคำนึงถึงการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
ต่อไป วนอุทยานไม้กลายเป็นหิน  ได้ดำเนินการขุดเปิดไม้กลายเป็นหินให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ทั้งหมด ๗ ต้น  ซึ่งแต่ละต้นมีความแตกต่างในส่วนของโครงสร้างและความสมบูรณ์ของซากไม้กลายเป็นหิน ดังนั้นเพื่อเป็น
การดูแลรักษาสภาพของไม้กลายเป็นหินที่เปิดให้ชมและศึกษาหาความรู้  อีกทั้งยังเป็นการรักษามรดกทางธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

..............  ทรัพยากรป่าไม้
ในพื้นที่วนอุทยานไม้กลายเป็นหิน  สภาพป่าโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง  
(Dry Dipterocarp Forest) ที่ค่อนข้างสมบูรณ์  มีต้นไม้ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปค่อนข้างหนาแน่น  พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  แดง  ประดู่  ตะแบก  มะค่าแต้  สะเดา  อ้อยช้าง  มะเกิ้ม  ยอป่า  กระพี้จั่น  ตุ้มกว้าว  รักใหญ่  รกฟ้า  มะขามป้อม  สารภี ฯลฯ  พันธุ์ไม้พื้นล่าง  ได้แก่  มะพร้าวเต่า (ปรงเขา)  เป้ง  ตับเต่า  นมแมว  ผักหวานป่า  หญ้าสาบเสือ  และหญ้าต่างๆ ฯลฯ  มีสภาพป่าเบญจพรรณประปนบ้างเล็กน้อย
................ทรัพยากรสัตว์ป่า
จากการสำรวจในพื้นที่วนอุทยานไม้กลายเป็นหิน   พบว่ามีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิดส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์เล็กๆ  ที่พบจำนวนมากได้แก่  ไก่ป่า  กระต่ายป่า  อีเห็น  กระรอก  กระรอกบิน  ตะกวด  แย้  งู  ตุ๊กแกป่า  นกชนิดต่างๆ  และแมลง  ส่วนสัตว์ป่าที่พบน้อย  ได้แก่  หมาป่า  อีเห็น 

  อากาศโดยส่วนใหญ่จะค่อนข้างร้อน  โดยเฉพาะในฤดูร้อน  ช่วงเดือน 
มีนาคม – เมษายน  จะมีอุณหภูมิสูงประมาณ  38-43 องศาเซลเซียส  มีอากาศเย็นเฉพาะในฤดูหนาว 
ช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม อุณหภูมิจะต่ำประมาณ  12-20  องศาเซลเซียส  และจะมีหมอกปกคลุมอุณหภูมิ
เฉลี่ยทั้งปี ประมาณ  28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ จะมีค่าสูงในช่วงฤดูฝนและลดต่ำใน ช่วงฤดูหนาว
และฤดูร้อนตามลำดับ
มีลักษณะทั่วไปเนินเขาที่เกิดจากการยกตัวของตะกอนตะพัก มีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 100 เมตร จนถึงระดับความสูงประมาณ 244 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีห้วยแห้ง
เป็นทางน้ำขนาดเล็กที่มีน้ำไหลเฉพาะในฤดูน้ำหลาก และแห้งขอดในฤดูแล้ง

ต้นที่  1   ลำต้นมีความสมบูรณ์มาก 
ขนาดความโตเฉลี่ย  1.80 เมตร 
ยาว  72.22 เมตร ขุดเปิดหน้าดิน เมื่อปี  2546
ต้นที่  2  ลำต้นแตกหักออกเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ยังคงเห็นเป็นลำต้นขนาดความโตเฉลี่ย  0.50 เมตร 
ยาว  31.30 เมตร ขุดเปิดหน้าดิน เมื่อปี  2548
ต้นที่  3   ลำต้นแตกหักออกเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ยังคงเห็นเป็นลำต้น ขนาดความโตเฉลี่ย  2.10 เมตร
ยาว  32.40 เมตร ขุดเปิดหน้าดิน เมื่อปี  2548
ต้นที่  4  ลำต้นแตกหักออกเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ยังคงเห็นเป็นลำต้นขนาดความโตเฉลี่ย  1.40 เมตร 
ยาว  44.20 เมตร ขุดเปิดหน้าดิน เมื่อปี  2548
ต้นที่  5   ลำต้นไม่ค่อยสมบูรณ์ แตกหักเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดความโตเฉลี่ย  1.20 เมตร 
ยาว  22.20 เมตร ขุดเปิดหน้าดิน เมื่อปี  2548
 ต้นที่  6   ลำต้นค่อนข้างสมบูรณ์   ส่วนโคนหายไปขนาดความโตเฉลี่ย  1.55 เมตร 
ยาว  34.50 เมตรขุดเปิดหน้าดิน เมื่อปี  2548
ต้นที่  7  ลำต้นมีความสมบูรณ์มาก ส่วนปลายต้นหายไปขนาดความโตเฉลี่ย  1.50 เมตร 
ยาว 38.70 เมตร ขุดเปิดหน้าดิน เมื่อปี  2548
 

 

ตำแหน่งที่ตั้ง 

วนอุทยานไม้กลายเป็นหินตั้งอยู่ท้องที่ ตำบลตากออก  อำเภอบ้านตาก  จังหวัดตาก อยู่ใน
แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ระหว่างอำเภอบ้านตาก (4843III) ลำดับชุดที่  L 7017 จุดอ้างอิงของประเทศไทย บริเวณพิกัด UTM 095869 หรือบริเวณเส้นละติจูดที่ 17 องศา 40, 03.6”  เส้นลองติจูดที่ 99 องศา 05, 23.9” ใกล้กับบริเวณเขาพระบาท อยู่ห่างจากอำเภอบ้านตากประมาณ  3 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ