ชื่ออื่นๆ : กะลำเพาะต้น,หมาชล(ชลบุรี); ดีงูต้น (พิษณุโลก); ดำ(นครศรีธรรมราช); ตะพ้านก้น(เชียงใหม่); หงีน้ำ, หมักกอม, หยีน้ำใบเล็ก(ตรัง), มะปอจ่อ,
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Picrasma javanica Blume
วงศ์ : Simaroubaceae
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-7 ใบ รูปรีแกมขอบขนาน ขอบใบเรียบ โคนใบมน ปลายใบแหลม กว้าง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 4.5 - 7 เซนติเมตร
ดอก มีครีมถึงสีเขียว ออกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมมี 4 แฉก ยาว 1 มิลลิเมตร กลีบดอก 4 กลีบ ปลายแหลมโค้งกลับมีสันเห็นชัดเจน เกสรตัวผู้ 4 - 5 อัน แยกกัน เกสรยาวกว่ากลีบดอกในดอกตัวผู้ ดอกตัวเมียสั้นและเป็นหมัน หมอนรองดอกมี 4 พู ดอกตัวเมียก้านเกสรมี 4 อัน ปลายแหลมจรดกัน
ผล เป็นผลสดมีสีขาวแดงหรือฟ้า มีเนื้อบางๆเป็นกลุ่ม 2 - 4 ผล บนฐานรองดอกที่ขยายตัวขึ้นมา มีกลีบเลี้ยงสีเขียวสดรองรับ เมื่อสุกผลสีดำ ผิวมัน ขนาด 0.8 - 1 เซนติเมตร
สรรพคุณตามตำรายา
- เปลือกต้น (เนื้อไม้มีรสขม) แก้ไข้มาเลเรีย แก้ไข้จับสั่น
แก้ไข้ตัวร้อน
- ผล เป็นยากวาดคอเด็ก แก้เจ็บคอ
ข้อมูลการวิจัย
สารเคมีที่พบ : เปลือกต้น มีสาร alkaloids
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา : alkaloids จากเปลือกต้น มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง และลดไข้ในสัตว์ทดลองได้ปานกลาง