สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๔ (ตาก) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช      

  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนราชการบริหารส่วนกลาง มีฐานะเทียบเท่ากอง สำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ที่ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 2 จังหวัด คือ ตาก และสุโขทัย
 
1.1 ประวัติความเป็นมา
 
          ปี พ.ศ. 2460 ได้ตั้งที่ทำการขึ้นเรียกว่าที่ทำการป่าไม้ภาคตาก ตั้งอยู่ริมแมน้ำปิง ที่บ้านหัวเดียด ตำบลหัวเดียด จังหวัดตาก
มีพื้นที่ 30 ไร่ในสมัยนั้นกรมป่าไม้แบ่งการบริหารป่าไม้ออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนเหนือ ตอนตะวันออก และตอนใต้ แบ่งการควบคุมการป่าไม้ออกเป็น 17 ภาค หัวหน้ารับผิดมีตำแหน่งเป็น เจ้าพนักงานป่าไม้ภาค ที่ทำการป่าไม้ภาคตากรวมอยู่ในภาคเหนือมีเขตควบคุม 2 จังหวัด
คือ จังหวัดตากและจังหวัดกำแพงเพชร
 
          ปี พ.ศ. 2483 มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการบริหารราชการส่วนกลางของกรมป่าไม้ใหม่ โดยลดจำนวนป่าไม้ภาคเหลือ 11 ภาค
ป่าไม้ภาคตากได้ถูกยุบไปรวมกับป่าไม้ภาคพิษณุโลก
 
         ปี พ.ศ. 2484 ได้มีกฤษฎีกาการจัดแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2484
ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2484จัดแบ่งส่วนราชการของกรมป่าไม้อีกครั้งโดยกำหนดให้ตั้งส่วนราชการป่าไม้ภาคตากขึ้นใหม่ มีเขตควบคุม 3 จังหวัด คือ ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร และในขณะเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อป่าไม้ภาคทั่วประเทศเป็นป่าไม้เขต มีจำนวน 12 เขต หัวหน้ารับผิดชอบมีตำแหน่งเป็น เจ้าพนักงานป่าไม้เขต
 
         ปี พ.ศ. 2495 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2495 อนุมัติกระทรวงเกษตรออกประกาศยุบป่าไม้เขตเดิม 12 เขต แล้วให้จัดตั้งป่าไม้เขตขึ้นใหม่จำนวน 21 เขต หัวหน้ามีตำแหน่งเป็น ป่าไม้เขต ป่าไม้เขตตากยังคงมีฐานะเป็นเขตอยู่ตามเดิม
แต่ให้มีเขตควบคุมอยู่ 2 จังหวัด คือ ตาก และสุโขทัย และในปีเดียวกันได้ย้ายที่ทำการป่าไม้เขตไปก่อสร้างใหม่ที่ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก ข้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ 12 ไร่
 
         ปี พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2506 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาภาคต่างๆ ขึ้นโดยเฉพาะภาคเหนือ มี ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน   มีรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ
พัฒนา มีขอบเขตความรับผิดชอบรวม 16 จังหวัด ซึ่งมีจังหวัดตากรวมอยู่ด้วย คณะกรรมการชุดนี้เลือกเอาจังหวัดตาก
เป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาภาคเหนือ และย้ายที่ทำการป่าไม้เขตตากไปอยู่ที่ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก ริมฝั่งแม่น้ำปิง
ตรงข้ามกับตัวเมืองตาก มีพื้นที่ 75 ไร่ ซึ่งเป็นที่ทำการสำนักงานป่าไม้เขตตากหรือสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 12 (ตาก) ในปัจจุบัน 
 
          ปี พ.ศ. 2511 ได้เริ่มลงมือสร้างที่ทำการป่าไม้เขตตาก ณ พื้นที่ที่คณะกรรมการพัฒนาภาคเหนือกำหนดไว้ คือ ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก ริมฝั่งแม่น้ำปิงเป็นอาคารตึก 2ชั้น โดยใช้งานงบประมาณปี 2511 ในวงเงิน 730,700.00 บาท (เจ็ดแสนสามหมื่นเจ็ดร้อยบาทถ้วน) การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2512 และเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2512 ฯพณฯ รัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร  ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดที่ทำการป่าไม้เขตตาก ซึ่งได้ใช้เป็นสำนักงานป่าไม้เจตตาก สังกัดกรมป่าไม้ กระทรวงเกษรและสหกรณ์
 
          ปี พ.ศ. 2545 มีกฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2545 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 119 ตอนที่ 103 ก หน้าที่ 45 วันที่ 9 ตุลาคม 2545 เปลี่ยนชื่อสำนักงานป่าไม้เขตตาก
เป็นสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 12 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2546 หัวหน้ารับผิดชอบมีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการสำนัก  ต่อมา เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) จนถึงปัจจุบัน





พื้นที่อนุรักษ์สมบูรณ์  เพิ่มพูนสัตว์ป่า ทุกภาคส่วนร่วมพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง





 
อนุรักษ์  สงวน  คุ้มครอง  ฟื้นฟู  ดุแลรักษาพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า  และพันธุ์พืช
                   
สร้างมาตรการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อนุรักษ์ตามหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                   
ศึกษาวิจัย จัดทำฐานข้อมูล  บริการข้อมูล  และพัฒนาสารสนเทศด้านการอนุรักษ์
                   
พัฒนาบุคคลากรด้วยระบบคุณธรรมให้มีความสามัคคี  มีความเข้มแข็ง และสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
                   
ประชาสัมพันธ์  สร้างจิตสำนึก  เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อนุรักษ์



    
-  บริหารจัดการบุคคลให้มีสมรรถนะและความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ
                     
-  จัดทำแผนเชิงยุทธศาสตร์และจัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ
                     
-  สร้างภาพลักษณ์ขององค์การให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
                     
-  บริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมตามแนวทางปรัชญาเศรษกิจพอเพียง
                     
-  ศึกษาและจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงระเบียบกฎหมายและการบังคับใช้




สำนักงานป่าไม้เขตตาก(กรมป่าไม้)
ผู้ดำรงตำแหน่ง เจ้าพนักงานป่าไม้ภาค
1.  พระดรุพันธ์พิทักษ์ (สนิท พุกกมาน) -2458
2.  หลวงพิจิตรวนุรักษ์ (ยอด มาริสวงศ์) -2480-2483
3.  หลวงพิศลย์ พนาธิราช (ดอกไม้ ยันตดิลก ) 2483-2485
 
ผู้ดำรงตำแหน่ง เจ้าพนักงานป่าไม้เขต
4.  หลวงนิเทศทาห์ วนการ (เสม วัฒนคุณ) 2485-2487
5.  นายคริต สามะพุทธ์ 2487-2492
6.  นายดุสิต พานิชพัฒน์ (รก) 2492-2493
7.  นายธีระ ศังขะกฤษณ์ 2493-2495
8.  นายเชิด อัธยาศัยวิสุทธิ์ 2495-2495
 
ผู้ดำรงตำแหน่งป่าไม้เขต
9.   นายจันทร์ วัฒนสุวกุล 2495-2498
10. นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ 2498-2507
11. นายวัน ศรีวันนา 2507-2508
12. นายประสิทธิ์ อุเทนสุต 2508-2520
13. นายชำนิ บุญโยภาส 2520-2524
14. นายบรรลือ เชื้ออินทร์ 2524-2528
15. นายพจน์ อนุวงศ์ 2528-2529
16. นายบุญเลี้ยง บรรจงศิลป์ 2529-2530
17. นายจรัล บุญแนบ 2530-2531
18. นายบุญเลี้ยง บรรจงศิลป์ 2531-2532
19. นายวิเชียร ศิริกิม 2532-2534
20. นายวิจิตร ญาณภิรัต 2534-2535
21. นายประพัตร แสงสกุล 2535-2536
22. นายวิโรจน์ พิมมานโรจนากูร 2536-2539
23. นายลือ ช้อนสวัสดิ์ 2539-2541
24. นายสมเจตน์ นวาวัฒน์ 2541-2542
25. นายวชิระ ม่วงแก้ว 2542-2546
 
สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 12 (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)
ผู้ดำรตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 12
1. นายวชิระ ม่วงแก้ว 14 ก.พ.2546 - 9 มิ.ย.2547
2. นายวรวิทย์ เชื้อสุวรรณ 10 มิ.ย. 2547 - 23 มิ.ย. 2547
 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14
1. นายวรวิทย์ เชื้อสุวรรณ 24 มิ.ย. 2547 - 1 ส.ค. 2548
2. นายเสน่ห์ ทิพย์บุรี 2 ส.ค. 2548 - 31 ส.ค. 2549
3. นายโอภาส เพียรสถาพร 1 ก.ย. 2549 - 8 เม.ย. 2550
4. นายโกวิทย์ สุรธรรม 9 เม.ย. 2550 - 30 ต.ค. 2550
5. นายโอภาส เพียรสถาพร 31 ต.ค. 2550 - 30 เม.ย. 2551
6. นายวิสูตร สมนึก 30 เม.ย. 2551 - 12 ส.ค. 2551
7. นายวีระ ลิ้มสมบัติ 13 สิงหาคม 2551 - 25 กันยายน 2551 (รักษาราชการแทน)
8. นายปรมินทร์ วงศ์สุวัฒน์ 26 กันยายน 2551 -15 ตุลาคม 2551
9. นายสมหมาย กิตยากุล 24 ตุลาคม 2551-29 ตุลาคม 2551
10 .นายอุดมพร อาณัติวงศ์ 3 พฤศจิกายน 2551-17 เมษายน 2552
11. นายวินิจ ภู่เนาวรัตน์ 17 เมษายน 2552 - 17  พฤศจิกายน 2553
12. นายมโนพัศ  หัวเมืองแก้ว  17 พฤศจิกายน 2554 - 7  กรกฎาคม 2554
13. นายพรพล รัชรากร  7 กรกฏาคม 2554 - 18 กันยายน 2554 (รักษาราชการแทน)
14. นายโอภาส  เพียรสถาพร 18 กันยายน 2554 - 30 กันยายน 2556
15. นายธนโรจน์  โพธิสาโร 4 ตุลาคม 2555 - 22 ตุลาคม 2556
16. นายภาดล  ถาวรกฤชรัตน์ 22 ตุลาคม 2556 - 30 มิถุนายน 2557
17. นายไพศาล สถิตวิบูรณ์ 3 กรกฎาคม 2557- ปัจจุบัน